วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

สไลด์ แง่คิด เพื่อชีวิตงดงาม

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมห้องสมุดในยุคมิลเลนเนียม : การจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่า

โลกยุคปัจจุบัน ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ ICT  ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ต่างๆ มีจำหน่ายในราคาถูกลง ง่ายต่อการเป็นเจ้าของ บวกกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กว้างขวางและมีความเร็วสูง ฯลฯ ส่งผลให้สารสนเทศ และความรู้ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีทำให้มีการสร้าง จัดเก็บ ค้นคืน เผยแพร่ และเข้าถึงสารสนเทศ ความรู้ได้สะดวกและรวดเร็ว
จากความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวในแต่ละวินาที กลายเป็นความท้าทายของห้องสมุดและบรรณารักษ์ในการปรับตัวให้ทันยุคทันเหตุการณ์ สามารถนำ ICT ที่เหมาะสมมาจัดการความรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ได้เปรียบเทียบให้เห็นถึงห้องสมุดในยุคปัจจุบันกับห้องสมุดในยุคมิลเลเนียมว่า
ห้องสมุดโลก = Internet
บรรณารักษ์ = Google
ชั้นหนังสือ = Web 2.0
ห้องสมุดเพลง = iPod
ทุกที่ ทุกเวลา = 24x7x365
การนำ ICT ที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในงานห้องสมุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการความรู้ด้านบริหาร จัดการ และการบริการ จะช่วยสร้างคุณค่าแก่ห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็น…
- การถ่ายโอน แปลง และสงวนรักษาข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ที่มากด้วยคุณค่าจากบรรพบุรุษสู่คนรุ่นหลัง อย่างสมบูรณ์ผ่านรูปแบบดิจิทัล
- ผู้ใช้บริการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นทั้งในและนอกห้องสมุด ทำให้ประหยัดบุคลากรในส่วนบริการ เพื่อไปดูแลงานส่วนอื่นๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ผู้ใช้ให้มากขึ้นจากเดิม
- ความรู้ในรูปแบบดิจิทัลทำให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้น เข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว จากทุกที่ ทุกเวลา ตราบเท่าที่ต้องการ
- เว็บไซต์ของห้องสมุดช่วยสร้างบรรยากาศให้เยี่ยมและใช้ห้องสมุด
- การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการเพิ่มมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารแบบเสมือน
- การมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น จากเทคโนโลยี Web 2.0
- สร้างเครือข่ายของห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือและแบ่งปันกัน
- ระบบการค้นหาหนังสือที่แม่นยำ และมีการจอง ยืม คืน ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
สรุปสั้นๆ ได้ว่า ICT ช่วยสร้างคุณค่า โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ลดต้นทุน เสริมการใช้บริการ
การก้าวไปสู่ห้องสมุดในศตวรรษที่ 21ได้นั้นสิ่งสำคัญคือการเตรียมตัวให้พร้อม ซึ่งดร.รอม หิรัญพฤษ์  มีข้อเสนอแนะว่า
- ประเมินประสบการณ์ที่ผู้ใช้ได้จากห้องสมุด เพื่อรับทราบความคิดเห็น และความต้องการ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่กลัว
- สร้างเอกลักษณ์ของห้องสมุดเราให้ได้
- ทดลองจัดพื้นที่สำหรับกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อดูกิจกรรมที่เหมาะสมในอนาคตของห้องสมุด
อย่ากลัวว่าเทคโนโลยีจะมาแทนที่ และเพิ่มภาระงานที่มีอยู่ แต่มันจะมาช่วยเสริมสร้างงานต่างๆ ของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ห้องสมุดยังมีพลังและความจำเป็นที่ต้องคงอยู่ ดังนั้นห้องสมุดจึงต้องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและจำเป็นนั้นทั้งต่อองค์กรที่สนับสนุน รวมถึงสังคม ให้มากและเร็วที่สุด ไม่ว่าการเป็นศูนย์กลางขององค์กร การเป็นที่พึ่งทางเทคโนโลยีของชุมชน โดเฉพาะการตอบคำถามที่ว่า
“Why do we need the Library when everthing is on the Internet?”
สำหรับห้องสมุด STKS ก็ได้นำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร จัดการ และการบริการ ตัวอย่างงานที่เราทำเช่น
-NSTDA Online Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่พัฒนาด้วย OSS คือ Koha เพื่อให้การสืบค้นเข้าถึงสารสนเทศในห้องสมุด ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ครบถ้วน แม่นยำ โดยเฉพาะการแบ่งปันทรัพยากรในห้องสมุด ที่ http://stks.or.th/library
-เพิ่มช่องทางเพื่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการผ่านเทคโนโลยี Web 2.0 ไม่ว่าจะเป็น
การร่วม Review หนังสือแนะนำประจำเดือนผ่านเว็บ http://stks.or.th
ร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ใน http://stks.or.th/blog และ http://stks.or.th/wiki/doku
เพิ่มมูลค่าของข้อมูล และสารสนเทศด้วยการจัดทำสารสนเทศวิเคราะห์ เช่น แผนที่สิทธิบัตร
และอื่นๆ ที่ http://stks.or.th
“The Library Welcomes The Future”
: ข้อมูลสรุปจากการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2551 เรื่อง นวัตกรรมห้องสมุดในยุคมิลเลเนียม : การจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่า วันที่ 27-28 ส.ค. 2551 ณ ชั้น 3 หอประชุมศาสตราจารย์ สังเวียน อินทรวิชัย อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น